สถาปนาสาธารณรัฐ ของ ซุน ยัตเซ็น

ดูเพิ่มเติมที่: สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)

ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว

ซุน ยัตเซ็นในช่วงที่ดำรงแหน่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของรัฐบาลเฉพาะกาล

รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐจีน (1912)

การปฏิวัติซินไฮ่ยังคงดำเนินต่อไปฝ่ายราชวงศ์ชิงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถอยร่นไปเรื่อยๆ ฝ่ายราชวงศ์ยังคงควบคุมพื้นที่ในภาคเหนือรอบนครหลวงปักกิ่งไว้ได้อย่างเข้มแข็งโดยที่ฝ่ายปฏิวัติยังไม่สามารถบุกเข้าไปได้ มีเพียงยฺเหวียน ชื่อไข่แม่ทัพเพียงคนเดียวที่ค้ำบัลลังก์ราชวงศ์ชิงไว้เท่านั้น ซุนยัตเซ็นพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยฺเหวียนชื่อไข่แปรพักตร์จากราชสำนักชิงมาเข้าร่วมการปฏิวัติกับฝ่ายปฏิวัติ โดยยื่นเงื่อนไขว่าจะมอบตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐให้ หากบังคับให้จักรพรรดิราชวงศ์ชิงสละราชสมบัติได้ ทั้งนี้เป็นเพราะซุนต้องการหลีกเลี่ยงการสูญเสียเลือดเนื้อ ยุติสงครามโดยเร็ว และรีบสถาปนาสาธารณรัฐ

ขณะที่ซุนยัตเซ็นพำนักในเซี่ยงไฮ้ บรรดาคณะปฏิวัติจากมณฑลต่างๆได้เสนอให้ท่านดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเลย แต่ในใจจริงของซุนยัตเซ็นไม่อยากรับตำแหน่ง ท่านได้เสนอให้ย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงหนานจิง เนื่องจากนครปักกิ่งนั้นเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ชิงเต็มไปด้วยพระราชวังสะท้อนซึ่งสัญลักษณ์แห่งระบอบศักดินาเสียดแทงจิตใจของประชาชน ขอให้ย้ายเมืองหลวงไปเมืองหนานจิงแทนและขอให้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบประชาธิปไตยที่เมืองดังกล่าวพร้อมเตรียมการสถาปนาประเทศแบบสาธารณรัฐ ระหว่างนี้ให้ใช้ธงชาติห้าสีไปพลางๆก่อน

ต่อมาคณะตัวแทนจากมณฑลต่างๆได้เปิดประชุมที่หนานจิงเพื่อจัดรัฐบาล มีตัวแทน 40 คน จาก 17 มณฑลเข้าร่วมประชุม มีการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีจากการคำนวณคะแนนที่มีผล 17 คะแนนเสียง เมื่อทำการเปิดหีบ เสียงส่วนใหญ่เลือกซุนยัตเซ็น 16 คะแนนเสียงทำให้ซุนยัตเซ็นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่อย่างไรซุนยังคงไม่อยากรับตำแหน่งเพราะเกรงจะเป็นที่ครรหา ซุนรับผิดชอบต่อสายตาสาธารณชนมากจึงขอให้เรียก "ประธานาธิบดีชั่วคราว" และ "รัฐบาลเฉพาะกาล" แทน

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 วันขึ้นปีใหม่ ซุนยัตเซ็นเดินทางจากเซี่ยงไฮ้ไปเมืองหนานจิงเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว เมื่อซุนถึงทำเนียบประธานาธิบดีชั่วคราว พิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวได้เริ่มชึ้น ซุนกล่าวปาฐกถาเรื่องลัทธิไตรราษฎร์ (สามหลักการแห่งประชาชน) เมื่อจบการปาฐกถา ซุน ยัตเซ็นหันหน้าเข้าหาธงชาติห้าสีพร้อมชูมือขวาอย่างเคร่งขรึม กล่าวคำสาบานต่อประชาชนทั่วประเทศ หลังจากนั้นมีคำแถลงการณ์กำหนดชื่อประเทศ โดยมีการใช้คำว่า "หมินกั๋ว" (民國) ที่แปลว่า "ประเทศของประชาชน" รวมกับคำว่า "จงฮวา" (中華) ที่แปลว่า ประเทศจีน เป็น จงฮวาหมินกั๋ว "中華民國" หรือ "สาธารณรัฐจีน"

  • คณะรัฐบาลของซุนยัตเซ็น
  • การประชุมคณะรัฐบาลเฉพาะกาลที่หนานจิง (ซุน ยัตเซ็นนั่งที่หัวโต๊ะ)
  • ซุนยัตเซ็นเดินนำหน้าเจ้าหน้าที่ทหาร

เมตตาธรรมต่อราชวงศ์ชิง

การประชุมวุฒิสภาของรัฐบาลเฉพาะกาลหนานจิงได้หารือต่อการดำเนินการต่อราชวงศ์ชิง ที่ประชุมส่วนใหญ่เสนอให้นำบรรดาเชื้อพระวงศ์มาขึ้นศาลและพิจารณาตัดสินโทษ แต่ดร.ซุนไม่เห็นด้วยกับการนำเชื้อพระวงศ์มาขึ้นศาลและได้แย้งต่อข้อเสนอของที่ประชุมว่า "การปฏิวัติไม่จำเป็นต้องมีการนองเลือด" ซุนยังเสนอให้สมาชิกในที่ประชุมคำนึงต่อความเมตตาซึ่งจะเป็น คุณธรรมของสาธารณรัฐ (民國道德) เชื้อพระวงศ์ชิงจึงไม่ถูกสำเร็จโทษในที่สุด

คณะรัฐบาลของดร.ซุน ได้มีนโยบายให้บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางของราชวงศ์ชิงมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมพลเมืองธรรมดาและอนุญาตให้ประทับอยู่ในพระราชวังต้องห้ามต่อไปได้ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจะให้การคุ้มครองและถวายเงินเพื่อรักษาพระเกียรติปีละ 4 ล้านตำลึง แต่ต้องเคารพต่อกฎหมายของสาธารณรัฐอย่างเคร่งครัด

การลาออกจากตำแหน่งและการถูกทรยศ

รัฐบาลเป่ย์หยาง

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลเป่ย์หยาง

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1912 ยฺเหวียน ชื่อไข่บีบบังคับให้จักรพรรดิผู่อี๋สละราชสมบัติได้สำเร็จ ราชวงศ์ชิงที่ปกครองประเทศจีนมาหลายร้อยปีต้องล่มสลาย ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เริ่มเรียกร้องให้ซุนยัตเซ็นลาออกและมอบตำแหน่งประธานาธิบดีตามสัญญา ซุนยัตเซ็นจึงได้เตรียมการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อให้คำสัตย์แก่สัญญา

แต่ต่อมายฺเหวียน ชื่อไข่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง ซึ่งหยวนก็ได้ตาย แต่ประเทศจีนนั้นก็แตกแยกสาแหรกขาดมีสงครามและขุนศึกตลอดเวลา ต่อมานายแพทย์ ซุน ยัตเซน ได้พบกับเจียงไคเช็ค แล้วตั้งโรงเรียนทหารหวางผู่ขึ้นมาเพื่อสร้างกองทัพพรรคก๊กมินตั๋งของตนเองด้วยความช่วยเหลือทั้งด้านการฝึกทหารและการเงินจากรัสเซีย รวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นแต่ว่าหลังตั้งโรงเรียนหวางผู่ได้แค่ 11 เดือน ท่านก็เสียชีวิตด้วยวัย 59 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซุน ยัตเซ็น http://www.britannica.com/EBchecked/topic/573697/S... http://big5.chinanews.com:89/hb/2011/04-02/2950599... http://www.chinanews.com/n/2003-12-04/26/376869.ht... http://www.countriesquest.com/asia/china/history/i... http://www.medpointeducationgroup.com/university.p... http://www.tour-bangkok-legacies.com/soi-sun-yat-s... http://www.iolani.org/wn_aboutiolani_100305_cc.htm http://www.wanqingyuan.org.sg/ https://www.britannica.com/biography/Sun-Yat-sen https://books.google.com/books?id=B9rYW5xPYEwC&pg=...